สาระน่ารู้ท่องเที่ยว
ตามรอยราชสกุลมหิดล ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ตามรอยราชสกุลมหิดล

 

ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านล่วงเลยมาปีกว่าแล้วที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย แต่เชื่อได้เลยว่าปวงชนชาวไทยยังคงคิดถึงพระองค์ท่านไม่เสื่อมคลาย ทุกหย่อมหญ้าที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปถึง ล้วนแต่มีคุณค่าทางจิตใจต่อคนไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะอยู่บนผืนแผ่นดินไทยหรืออยู่ที่ใดบนโลก หากเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนไปเห็นสถานที่ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ประทับสักครั้ง นั่นก็เป็นบุญตาเหลือเกิน เหมือนดั่งที่ คุณธันยพร มิตรกุล (จี้มุก) ได้มีโอกาสเดินทางไปยังเมืองบอสตัน และเมืองใกล้เคียง ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้เผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul เส้นทางนี้จะน่าสนใจและมีคุณค่ามากน้อยแค่ไหน เราไปชมกันเลยค่ะ 

        
           มาเริ่มกันที่สถานที่แรกที่ไปคือ อพาร์ตเมนต์เลขที่ 63, Longwood avenue, Brookline บ้านหลังแรกของพ่อ 

          ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าอพาร์ตเมนต์หลังนี้นั้นอยู่ใกล้กับโรงแรมที่เราพักมากกกกก ใกล้มากจนน่าขนลุก ตอนหาข้อมูลตอนนั้นพบว่าอพาร์ตเมนต์นี้ไม่ได้อยู่แถว ๆ เคมบริดจ์เหมือนสถานที่อื่น ๆ ค้นไปค้นมาปรากฏว่าอยู่แถว ๆ โรงแรมเรานี่เอง แค่ข้ามถนนไปอีกฝั่งของโรงแรมแล้วเดินต่อไปอีก 2 บล็อก ก็ถึงเลย วินาทีแรกที่เห็นคือขนลุกซู่ววววววว บอกไม่ถูก มันทั้งดีใจ ภูมิใจ ตื้นตัน ตื่นเต้นปนกันไปหมด  

          ความสำคัญของอพาร์ตเมนต์หลังนี้ คือเป็นที่ประทับที่แสนจะเรียบง่ายของสมาชิกราชสกุลมหิดลทั้ง 5 พระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นที่รักของพวกเรานั่นเอง

          ทรงประทับอยู่ที่นี่ช่วงปี พ.ศ. 2469-2471 จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ. 2471 ทั้งครอบครัวก็ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยอย่างถาวร โดยประทับอยู่ ณ วังสระปทุม ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต ขณะที่ตอนนั้นในหลวง รัชกาลที่ 9 มีพระชนมายุยังไม่ถึง 2 พรรษา 

        
          สถานที่ต่อไปคือ Mount Auburn Hospital โรงพยาบาลที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระบรมราชสมภพ

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul
ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul
ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul
ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul
ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul 

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

***************************************************************

          มาต่อกันที่สถานที่ที่ 2 ที่ไปคือ Mount Auburn Hospital โรงพยาบาลพระบรมราชสมภพ

                  ห้องหน้าต่างสูงชั้นบนที่เห็นในตึกนี้ (ดูได้จากในรูป) เป็นห้องที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เวลา 08.45 น. ณ ตอนนั้นสมเด็จย่าและในหลวง รัชกาลที่ 9 ประทับพักฟื้นที่โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นเวลา 21 วัน

          เมื่อแรกพระบรมราชสมภพทรงมีพระนามในสูติบัตรว่า เบบี้ สงขลา (Baby Songkla) ซึ่งมาจากพระนามของสมเด็จพระบรมราชชนก ที่มีพระนามในต่างประเทศว่า Mr.Mahidol Songkla (มหิดล สงขลา) นั่นเอง ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระบรมราชสมภพได้ไม่ถึง 3 ชั่วโมง สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงรีบส่งโทรเลขถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ว่า "ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย" โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ซึ่งแปลว่า "พลังแห่งแผ่นดิน"

          ปัจจุบันแผนกสูติได้ย้ายไปยังชั้น 5 ของอีกตึกหนึ่ง ซึ่งบริเวณหน้าห้องคลอดจะมีพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 อยู่

          ใครจะรู้ว่าเด็กชายตัวน้อย ๆ ที่คลอดที่นี่ หลังจากนั้น 19 ปี ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 9 ของราชวงศ์จักรีไทย และกลายเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความรักและเมตตาต่อพสกนิกรชาวไทย และเป็นหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ :)

          สถานที่ต่อไปเราไปชมกันว่าเมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จย่ามาศึกษาที่บอสตัน ท่านประทับอยู่ที่ไหน

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ด้านหน้า Mount Auburn Hospital  ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul 


ตามรอยราชสกุลมหิดล
พระบรมฉายาลักษณ์ที่พระราชทานให้กับทางโรงพยาบาล เมื่อครั้งเสด็จฯ มายังโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2503  ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul
ตามรอยราชสกุลมหิดล
ข่าวประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่เสด็จฯ มาโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2503 ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ห้องในวงกลมสีแดงคือห้องพระบรมราชสมภพของพระองค์ ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
แผ่นศิลาจารึก ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
พระบรมฉายาลักษณ์หน้าห้องคลอดชั้น 5 ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

          นี่คือแผ่นใต้พระบรมฉายาลักษณ์ แปลได้ว่า

          "โรงพยาบาล MOUNT AUBURN ตั้งใจที่จะน้อมรำลึกถึงพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ที่ทรงมีพระบรมราชสมภพบนแผ่นดินของประเทศสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย ซึ่งทรงมีพระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยอยู่ในการดูแลของ D.R. W.STEWART WHITTEMORE"

          "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยือนสถานที่พระบรมราชสมภพของพระองค์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2503"
ตามรอยราชสกุลมหิดล
          พระสูติบัตร (จากเว็บไซต์) ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

***************************************************

          สถานที่ที่ 3 เราออกจากโรงพยาบาลก็เดินทางไปยัง อาคารหมายเลขที่ 44, Langdon street  ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงพยาบาลมากนัก 

          เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2461 นักเรียนทุนการศึกษาทั้ง 9 คน ที่ได้รับทุนจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ให้มาศึกษาวิชาพยาบาล 1 ในนั้นก็คือ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (หรือสมเด็จย่าของคนไทยนั่นเอง) ได้เดินทางโดยรถไฟจากซานฟรานซิสโกมาถึงบอสตัน โดยสมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จไปต้อนรับนักเรียนทุนเหล่านี้ที่สถานีรถไฟ South station (ว่ากันว่านี่คือจุดเริ่มต้นความรักของพระองค์ท่านทั้ง 2 พระองค์ :) เขินจัง) และนำคณะนักเรียนไปพักที่ Brattle Hotel ก่อน แล้วหลังจากนั้นนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จย่า) ได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารหมายเลข 44 นี้ และพักอยู่ที่นี่จนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2461 ก่อนที่จะย้ายไปประทับอยู่กับ Host Family ในเวลาต่อมา

          ที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่พำนักและสำนักงานดูแลนักเรียนทุนไทยในสหรัฐอเมริกาแล้วนั้น ที่แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2464-2470 ยังเป็นสถานที่ตั้งสมาคมสยาม (Siamese Alliance) หรือสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาแห่งแรกในสมัยนั้นอีกด้วย ซึ่งดำเนินการโดยสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จย่า ปัจจุบันอาคารนี้ก็มีผู้คนทั่วไปเช่าพักอาศัยอยู่ 

          สถานที่ต่อไป เราไปชมบ้าน Host Family ของสมเด็จย่ากัน 

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

*********************************************************** 

         มาต่อกันที่สถานที่ที่ 4 และ 5 บ้าน Host Family ของสมเด็จย่า

          บ้านเลขที่ 49 Cedar road, Belmont (จากในรูปคือบ้านหลังสีน้ำตาล) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อว่า เมืองเคมบริดจ์ตะวันตก (ปัจจุบันผู้ที่ซื้อบ้านแถวนี้จะเป็นศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย Harvard) เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จย่ากับครอบครัวเคนท์ โดยพระองค์ได้ประทับอยู่ที่นี่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ในระหว่างเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2462 ซึ่งเป็นช่วงเตรียมตัวก่อนเข้าศึกษาวิชาพยาบาลในวิทยาลัย Simmons College (วิธีเดินทางไปบ้านหลังนี้แอบไกลหน่อย เพราะจากโรงพยาบาล Mount Auburn ต้องนั่งรถไปประมาณ 20 นาที) 

          หลังจากสมเด็จย่าทรงหมั้นกับสมเด็จพระบรมราชชนกแล้ว ก็ได้ย้ายไปประทับ ณ บ้านเลขที่ 15 Berkeley street, Cambridge (จากรูปคือบ้านหลังสีแดง) โดยพักอยู่กับครอบครัว Williston family ในระหว่างทรงศึกษาในวิทยาลัย Simmons College ในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2462 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2463 พระองค์ได้ทรงศึกษาศิลปะและวิชาอื่น ๆ กับ 2 สาวพี่น้องตระกูลวิลลิสตัน ชื่อ Emily และ Constance และยังทรงเข้าโรงเรียนกวดวิชาของ Miss Edith Johnson อีกด้วย (บ้านหลังนี้ไม่ไกลจากโรงพยาบาล Mount Auburn มากนัก พอเดินไหว แต่ขาแอบลากอยู่เหมือนกัน)

          สถานที่ต่อไปไปชมอพาร์ตเมนต์ของสมเด็จพระบรมราชชนก เมื่อครั้งสมัยที่ท่านทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัย Harvard กัน

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

******************************************************* 

          Trail สถานที่ที่ 6 และ7 แล้วเด้อ เคยสงสัยไหมว่าตอนที่สมเด็จพระบรมราชชนกมาศึกษาที่บอสตัน ท่านประทับอยู่ที่ไหนกันนะ จะหรูหราโอ่อ่าหรือเปล่า ว่าแล้วไปดูบ้านเลขที่ 11 ของสมเด็จพระบรมราชชนกกัน

          สมเด็จพระบรมราชชนก นับเป็นพระราชนิกุลพระองค์แรกในโลกที่เสด็จฯ ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทรงเข้าศึกษาในชั้นเตรียมแพทย์ก่อนเป็นเวลา 1 ปี และลงทะเบียนเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Harvard ในปี พ.ศ. 2460 โดยในระหว่างที่ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัย Harvard นั้น ได้ประทับที่บ้านเลขที่ 11, Hawthorn street, Cambridge (จากรูปคือบ้านหลังสีขาว) ในระหว่างปี พ.ศ. 2459-2461 จากนั้นได้ทรงย้ายไปประทับที่อพาร์ตเมนต์เลขที่ 11 Story street, Cambridge (จากรูปคือหลังที่เป็นอพาร์ตเมนต์สูง ๆ) ในปี พ.ศ. 2461-2462 จนสำเร็จการศึกษา

          จากอพาร์ตเมนต์เลขที่ 11 Story street, Cambridge สามารถเดินไปถึงจัตุรัสภูมิพลได้เลย ใกล้มากกกกกก จากที่ไปมาทั้ง 7 ที่ จะเห็นได้ว่าครอบครัวพระองค์ท่านทรงอยู่แบบเรียบง่ายและติดดินมากเลยเนอะ :)

          จบการรีวิวสถานที่ประวัติศาสตร์ของราชสกุลมหิดล ณ บอสตัน ทั้ง 7 แห่งแล้ว แต่ยังมีอีก 1 สถานที่ที่อยากรีวิวในรีวิวหน้า (ใช่ ยังมีต่อ ยังไม่จบจ้ะ) เป็นที่ที่คนไทยทุกคนเมื่อมาบอสตันแล้วต้องไม่พลาดที่จะมาสถานที่แห่งนี้ ..."จัตุรัสภูมิพล" หรือ King Bhumibol of Thailand square นั่นเอง :)

ตามรอยราชสกุลมหิดล
บ้านเลขที่ 11, Hawthorn street, Cambridge ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul


ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
          อพาร์ตเมนต์เลขที่ 11 Story street, Cambridge ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

 
ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

************************************************* 

          คนไทยทุกคนที่มาบอสตันจะต้องมาที่นี่ จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช (King Bhumibol Adulyadej of Thailand Square)

          ที่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่พระบรมราชสมภพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นายกเทศมนตรีเมืองเคมบริดจ์ได้ขอพระราชทานนามว่า "จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช" (King Bhumibol Adulyadej of Thailand Square) และพระองค์ท่านก็ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร มาประดับไว้บนจัตุรัส เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองเคมบริดจ์และโรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น อันเป็นสถานที่พระบรมราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

          ในตอนแรกป้ายจัตุรัสแห่งนี้เป็นเพียงป้ายไม้เล็ก ๆ ซึ่งสังเกตได้ยากและบางคนไม่รู้ว่ามีความสำคัญ (ได้ยินว่าบางครั้งก็มีคนเอาจักรยานมาล็อกไว้กับป้ายก็มี) คนไทยที่อาศัยอยู่ในบอสตันจึงได้จัดตั้งมูลนิธิ King of Thailand Birthplace Foundation ขึ้น และได้รวบรวมเงินทุนเพื่อปรับปรุงจัตุรัสให้สวยงามสมพระเกียรติอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2533 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535

          สำหรับคนทั่วไปที่แห่งนี้อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากนัก แต่สำหรับคนไทยแล้วถึงแม้จะเป็นเพียงป้ายเล็ก ๆ แต่มีคุณค่าทางจิตใจอย่างที่สุด

          สุดท้ายนี้อยากขอบคุณมูลนิธิ King of Thailand Birthplace Foundation ที่ได้ให้ความสำคัญกับสถานที่ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้เป็นประโยชน์กับคนไทยและผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก เพราะตัวเราเองถ้าไม่ได้ข้อมูลต่าง ๆ จาก มูลนิธิ King of Thailand Birthplace Foundation แล้ว การตามรอยราชสกุลมหิดล ณ บอสตัน คงเป็นไปได้ยากเลยทีเดียว

          จัตุรัสภูมิพลมาง่ายมากกกกกก เพราะอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย Harvard เลย วิธีการเดินทางคือนั่งรถไฟมาลงที่ Harvard station ออกประตูทางออก Harvard square แล้วเดินมาทาง Eliot street ก็ถึงเลยจ้ะ :)

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

          แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "จัตุรัสแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงศุภวาระวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทย ณ โรงพยาบาลเมาทน์ออเบิร์น เคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ในขณะที่เจ้าฟ้ามหิดล พระบรมราชชนก ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์วาร์ด

          จัตุรัสนี้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระธิดาองค์สุดท้องในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นเครื่องหมายรำลึกแทนสายสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างประชากรแห่งนครเคมบริดจ์และปวงชนชาวไทย

          อนุสรณ์สถานนี้เปิดแพรคลุมป้าย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้แทนพระองค์ และผู้แทนปวงชนชาวไทย ในการเปิดแพรคลุมป้ายอนุสรณ์สถาน"

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล

          ด้านหลังจัตุรัส ได้มีการบันทึกสถานที่ประวัติศาสตร์ของราชสกุลมหิดล ทั้ง 10 แห่งไว้ (ที่ได้ไปมาคือ 2-8 แต่ 1,9-10 ไม่ได้ไป) ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

 
ตามรอยราชสกุลมหิดล

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul

ตามรอยราชสกุลมหิดล
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thanya JieMook Mitkul 

ที่มา : https://travel.kapook.com
ความคิดเห็นจากลูกค้า
  • ประทับใจการบริการของบริษัท โกลเบิลทัวร์มากๆเลยค่ะ เดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 บริหารดีมากค่ะ ใส่ใจลูกค้ามากๆ ให้คำแนะนำดีมากค่ะ คราวหน้าจะมาใช้บริการที่โกลเบิลทัวรื เชียงใหม่อีกแน่ นอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
    20-30 มิถุนายน 2560 ญี่ปุ่น โอซาก้า (Osaka) เกียวโต
    คุณเมย์
  • เที่ยวชมหมู่บ้านคินตามณีทานอาหารซีฟู๊ด ณ หาดจิมบารัน​ชมภูเขาไฟและทะเลสาบบาตูร์  ตื่นตาไปกับวิหารเทมภัคศิริงก์ สักการะวัดเม็งวี ที่มีความโดดเด่น​ ชมวิว​เทือกเขาเบดูกัล วัดอุลันดานูโอโห้ไปกับทะเลสาบบราตัน อื้อหือไปกับวิหารทานาล็อ​ท​ ช้อปปิ้งเพลินเพลินย่านคูต้าร์ เซ็นเตอร์ ตลาดปราบเซียน
    Moomai